British Citizenship

รับปรึกษา จัดทำเอกสารเพื่อการสมัครเป็น British Citizenship การขอสัญชาติอังกฤษ การขอPassport การต่อPassport และการทำ CV สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ 🙏🙏🙏 Line ID :: pla-prapasara

วันพฤหัสบดีที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2566

ขอทำหนังสือเดินทางเล่มใหม่ (e-passport) กรณีหมดอายุ และหนังสือเดินทางเล่มแรก UK

 

ขอทำหนังสือเดินทางเล่มใหม่ (e-passport) กรณีหมดอายุ และหนังสือเดินทางเล่มแรก UK



สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงลอนดอน เปิดให้นัดหมายเพื่อทำหนังสือเดินทางเล่มใหม่ได้ทาง   https://www.qpassport.in.th/#/landing


1. ขั้นตอนการขอหนังสือเดินทางเล่มใหม่ ในกรณีหมดอายุ

1. ท่านสามารถสอบถามเกี่ยวกับการนัดหมายกับสถานเอกอัครราชทูตฯ ทาง https://www.qpassport.in.th/#/landing
 
โปรดตรวจสอบวันหยุดของสถานเอกอัครราชทูตฯ ก่อนนัดหมาย เพื่อความสะดวกของท่าน ที่นี่
 
2. การทำหนังสือเดินทาง จะต้องเดินทางมาทำด้วยตนเองเท่านั้น กรณีบุคคลที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ (อายุไม่ถึง 20 ปี) ผู้ปกครอง (ทั้งบิดาและมารดา) จะต้องมาลงนามต่อหน้าเจ้าหน้าที่ด้วย      
3. สำหรับคนไทยที่มาท่องเที่ยวในสหราชอาณาจักรฯและทำหนังสือเดินทางหาย จะไม่สามารถขอทำหนังสือเดินทางเล่มใหม่ได้ กรุณาติดต่อสถานเอกอัครราชทูตฯ เพื่อทำ เอกสารการเดินทางฉุกเฉิน   
4. หนังสือเดินทางเล่มใหม่ ใช้เวลาทำการประมาณ 4 - 6 สัปดาห์      
5. ค่าธรรมเนียม 30 ปอนด์สำหรับหนังสือเดินทาง 5 ปี และ 45 ปอนด์สำหรับหนังสือเดินทาง 10 ปี (สามารถจ่ายค่าธรรมเนียมโดยบัตรเดบิต/contactless ได้) 
    **การขอหนังสือเดินทาง 10 ปี สำหรับบุคคลสัญชาติไทยที่มีอายุ 20 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป จะต้องนำบัตรประชาชนที่ยังไม่หมดอายุมาแสดง (บัตรประชาชนตัวจริงหรือสำเนา) เท่านั้น**
6. หากท่านไม่สามารถมารับเล่มใหม่ด้วยตนเอง โปรดเตรียมซองส่งกลับมาด้วย โดยซื้อซองแบบ Royal Mail Special Delivery (next day) สำหรับน้ำหนักไม่เกิน 500 กรัม แบบใดแบบหนึ่ง ดังนี้


 
              RoyailMail500g    
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
Return_Envelope


2. แบบฟอร์มที่ต้องกรอก      
          
คำร้องขอหนังสือเดินทางไปต่างประเทศ จำนวน 1 ชุด แบบฟอร์มที่ 1 ตัวอย่างแบบฟอร์มที่ 1    


 
* เพื่อให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการยื่นคำร้องในการออกหนังสือเดินทางให้แก่บุคคลสัญชาติไทยที่เกิดในต่างประเทศตามระเบียบกระทรวงการต่างประเทศว่าด้วยการออกหนังสือเดินทาง พ.ศ. 2548 นั้น เมื่อบิดามารดาได้แจ้งเกิดและขอทำหนังสือเดินทางเล่มแรกให้แก่เด็กแล้ว จะต้องดำเนินการเพิ่มชื่อและรายการบุคคลเข้าในทะเบียนบ้านที่สำนักงานเขตหรืออำเภอที่มีภูมิลำเนาอยู่ ในฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์ เพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบข้อมูลหลักฐานการขอหนังสือเดินทางของบุคคลสัญชาติไทย ดังนั้น กระทรวงการต่างประเทศจะอนุโลมออกหนังสือเดินทางเฉพาะเล่มแรกเท่านั้นให้แก่เด็กที่เกิดในต่างประเทศ
* ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นที่ไม่อาจเดินทางกลับประเทศไทยเพื่อดำเนินการเพิ่มชื่อและรายการบุคคลเข้าในทะเบียนบ้านที่สำนักงานเขตหรืออำเภอนั้น บิดา มารดา ผู้ปกครองโดยชอบด้วยกฎหมาย  หรือผู้ที่บรรลุนิติภาวะแล้ว (อายุ 20 ปีขึ้นไป) ซึ่งประสงค์ขอมีรายการบุคคลและหมายเลขประจำตัวประชาชนในฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์ อาจมอบอำนาจให้ญาติพี่น้องยื่นคำร้องแทน [ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา ข้อ 96/2 (หน้า 74 


สามารถค้นข้อมูลเกี่ยวกับการเพิ่มชื่อและรายการบุคคลเข้าในทะเบียนบ้านที่ http://www.bora.dopa.go.th/CallCenter1548/index.php/menu-population/13-service-handbook/population/29-population-add-name



3. หลักฐานประกอบ

 
    3.1. สำหรับผู้ที่มีอายุ 20 ปี บริบูรณ์ ขึ้นไป
          
1 หนังสือเดินทางเล่มเดิม

           2.บัตรประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้าน

    3.2 หลักฐานประกอบสำหรับบุคลที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปี (สำหรับกรณีการทำหนังสือเดินทางเล่มแรกและการต่ออายุกรณีหมดอายุ) การทำหนังสือเดินทางเล่มแรกขอให้ผู้ปกครองแจ้งเกิดและรับสูติบัตรก่อนจึงจะสามารถขอหนังสือเดินทางเล่มแรก (หลังจากนั่น ขอให้ผู้ปกครองนำบุตรเข้าทะเบียนบ้าน และทำบัตรประชาชนเมื่ออายุครบ 7 ปี เพื่อทำหนังสือเดินทางเล่มต่อไป


         กรณีบุคคลที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปี และ บิดา – มารดาจดทะเบียนสมรส           
1.    หนังสือเดินทางเล่มปัจจุบัน            
2.    สำเนาสูติบัตรไทย จำนวน 1 ชุด          
3.    บัตรประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้าน จำนวน 1 ชุด           
4.    สำเนาทะเบียนสมรสของบิดา - มารดา จำนวน 1 ชุด          
5.    สำเนาหน้าหนังสือเดินทางของบิดา - มารดา จำนวน 1 ชุด           
6.    สำเนาบัตรประชาชนและทะเบียนบ้านของบิดา - มารดา (เฉพาะผู้มีสัญชาติไทย) จำนวน 1 ชุด    

         
 
         กรณีบุคคลที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปี และ บิดา – มารดาไม่ได้จดทะเบียนสมรส            
1.    หนังสือเดินทางเล่มปัจจุบัน            
2.    สำเนาสูติบัตรไทยจำนวน 1 ชุด           
3.    บัตรประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้าน จำนวน 1 ชุด           
4.    สำเนาบัตรประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านของบิดา-มารดา (เฉพาะผู้ที่มีสัญชาติไทย) จำนวน 1 ชุด            
5.    สำเนาหน้าหนังสือเดินทางของบิดา - มารดา จำนวน 1 ชุด            
6.    มารดาจะต้องกรอกแบบฟอร์มบันทึกถ้อยคำ เพื่อยืนยันสถานะของบุตร
       ส่วนบิดาจะต้องกรอกแบบฟอร์มคำขอเพื่อแจ้งความประสงค์และให้ความยินยอมให้บุตรใช้นามสกุลของตน หากบุตรต้องการใช้นามสกุลตามบิดา
7.    สำเนาใบปกครองบุตร (ป.ค. 14) จำนวน 1 ชุด (ในกรณีไม่สามารถติดต่อกับบิดาของบุตร)


กรณีบุคคลที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปี และ บิดา – มารดาได้จดทะเบียนหย่า                       

1.    หนังสือเดินทางเล่มปัจจุบัน            
2.    สำเนาสูติบัตรไทย จำนวน 1 ชุด         
3.    บัตรประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้าน จำนวน 1 ชุด           
4.    สำเนาทะเบียนหย่าและบันทึกการหย่าของบิดา - มารดา จำนวน 1 ชุด            
5.    สำเนาบันทึกการหย่าที่ระบุผู้มีอำนาจในการปกครองบุตร จำนวน 1 ชุด            
6.    สำเนาหน้าหนังสือเดินทางของบิดา - มารดา จำนวน 1 ชุด            
7.    สำเนาบัตรประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านของผู้ปกครองบุตร จำนวน 1 ชุด

 



การขอหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ (E-Passport) ข้อมูลที่ปรากฎจะตรงตามข้อมูลในทะเบียนราษฎรของผู้ร้องที่ประเทศไทย ทั้งนี้ นามสกุลในหนังสือเดินทางเล่มใหม่จะตรงกับหลักฐานทะเบียนบ้านและบัตรประชาชน โดยจะไม่ขึ้นอยู่กับหนังสือเดินทางเล่มเดิม

ถ้าผู้ร้องต้องการให้นามสกุลในหนังสือเดินทางเป็นนามสกุลหลังการสมรส/หย่า จะต้องแก้ไขนามสกุลในทะเบียนราษฎร์ก่อนที่จะเดินทางมาทำหนังสือเดินทาง อิเล็กทรอนิกส์ ดูรายละเอียดได้ในหัวข้อ “การเปลี่ยนนามสกุลหลังจดทะเบียนสมรสหรือจดทะเบียนหย่า”



การทำหนังสือเดินทางเล่มใหม่หรือ E-passport ไม่สามารถดำเนินการทางไปรษณีย์ได้

 


CR   ::    https://london.thaiembassy.org/th/publicservice/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

การทำ SEO คืออะไร

  การทำ SEO คืออะไร การทำ SEO คืออะไร เรียนรู้เทคนิคง่ายๆ ทำด้วยตัวเอง ไม่ต้องเสียตังค์ "SEO คือ การปรับแต่งเว็บไซต์ให้ติดอันดับการค้นห...