ระบบการศึกษาของประเทศอังกฤษ
ระบบการศึกษาของประเทศอังกฤษแบ่งเป็น 4 ระดับใหญ่ๆ ดังนี้
รับนักเรียนอายุ ตั้งแต่ 5-14 ปี โดย Pre-Preparatory School (เตรียมประถมศึกษา) จะรับเด็กอายุ 5-7 ปี และ Preparatory School (ประถมศึกษา) รับเด็กอายุ 7-14 ปี
รับนักเรียนอายุตั้งแต่ 14 ปีขึ้นไป และเรียนได้จนถึงอายุ 18-19 ปี การศึกษาในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาของอังกฤษมีทั้งโรงเรียนของรัฐบาลและโรงเรียนของเอกชน ซึ่งการขึ้นชั้นเรียนในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาเป็นการขึ้นชั้นเรียนโดยอัตโนมัติ ไม่มีการสอบตก และหลังจากที่จบการศึกษาเมื่ออายุ 16 ปีแล้ว กระทรวงศึกษาธิการและวิทยาศาสตร์ของอังกฤษจะกำหนดให้มีการวัดความรู้ ความสามารถของเด็ก โดยการจัดสอบของคณะกรรมการอิสระ ซึ่งมีการสอบประมาณเดือนมิถุนายนถึงเดือนกรกฎาคมของทุกปี ผลการสอบดังกล่าวจะนำไปใช้ในการสมัครเข้าศึกษาในระดับอุดมศึกษาต่อไป การสอบนี้มี 2 ประเภท คือ
GCSE (General Certificate of Secondary Education) Year 10-11
เป็นการสอบเมื่อนักเรียนอายุ 16 ปีขึ้นไป โดยเลือกสอบประมาณ 5-12 วิชา เช่น วิทยาศาสตร์ ภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ สังคมศึกษา ฯลฯ ผลการสอบจะแบ่งออกเป็น 8 ระดับ ได้แก่ Grade A*, A , B , C , D , E , F และ G ผู้ที่สอบได้ Grade C ขึ้นไปจะถือว่าสอบผ่าน อย่างไรก็ตาม ในปี 2018 ทางรัฐบาลอังกฤษได้เปลี่ยนการออกคะแนนเป็นตัวเลขแทน ตั้งแต่ 1-9 โดย 9 คือคะแนนสูงสุด ผู้ที่สอบได้ Grade 4 ขึ้นไปจะถือว่าสอบผ่าน นักเรียนที่สอบ GCSE ต้องผ่านอย่างน้อย 5 วิชาขึ้นไป หากจะศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาจะต้องเรียนต่ออีก 2 ปี ในระดับ A-Level
นอกจากนี้ ยังมีหลักสูตร IGCSE (International General Certificate of Secondary Education) สำหรับนักเรียนที่ภาษาแม่ไม่ใช่ภาษาอังกฤษ เป็นหลักสูตรที่ได้รับการรับรองอย่างแพร่หลายทั่วโลก ใช้เกณฑ์เดียวกันกับ GCSE ทุกประการ
GCE (General Certificate of Education) “A-Level” Year 12-13
การเรียนต่อระดับ A-level จะเหมาะสำหรับนักเรียนที่ต้องการศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา กำหนดระยะเวลามาตรฐานไว้ที่ 2 ปี โดยจะแบ่งเป็น AS และ A2 นักเรียนจะต้องเรียนเพื่อเก็บคะแนนและผลงาน โดยจะมีการสอบเพื่อวัดความสามารถทางวิชาการของนักเรียนที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป ส่วนใหญ่นักเรียนจะลงทะเบียนเรียนเพียง 3-4 วิชา ซึ่งมักจะเป็นวิชาที่เกี่ยวข้องกับคณะหรือสาขาวิชาที่ต้องการศึกษาต่อ ผลการสอบ A Level มี 6 ระดับ คือ A*, A , B, C, D และ E ซึ่ง Grade ที่ได้ทั้ง 5 ถือว่าสอบผ่านทั้งหมด อย่างไรก็ตามมหาวิทยาลัยส่วนใหญ่พิจารณารับผู้มีผลการสอบในระดับ C ขึ้นไป บางแห่งอาจรับเฉพาะผู้ที่ได้คะแนนระดับ A และ B ผลการสอบ GCE “A” Level นี้ จะเป็นเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยใช้ในการพิจารณารับนักเรียนเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี โดยคะแนนจะนำมาแปลงเป็น Tariff Point ตามที่มหาวิทยาลัยแต่ละแห่งกำหนด
นักเรียนจะต้องยื่นใบสมัครเข้าระบบกลางที่เรียกว่า UCAS เพื่อเลือก 5 คณะ ในช่วงต้นเทอม A2 นักเรียนต่างชาติต้อง Submit UCAS Application ก่อนวันที่ 15 มกราคมของทุกปี อ่านรายละเอียดเกี่ยวกับ UCAS ให้มากขึ้น ได้ ที่นี่
การศึกษาที่จัดขึ้นเพื่อให้นักเรียนที่มีอายุ 16 ปีและไม่ประสงค์จะศึกษาต่อระดับอุดมศึกษา แต่ต้องการเรียนต่อเพื่อเอาคุณวุฒิทางวิชาชีพต่างๆ เพื่อใช้ในการประกอบอาชีพ คุณวุฒิวิชาชีพมี 2 ประเภท คือ
GNVQ (General National Vocational Qualification) เป็นการศึกษากึ่งสายอาชีพ โดยแบ่งออกเป็น 4 ระดับ คือ
1. GNVQ Foundation หลักสูตร 1 ปี
2. GNVQ Intermediate หลักสูตร 2 ปี ต่อจาก GNVQ Foundation
3. GNVQ Advanced หลักสูตร 2 ปี เทียบเท่า A-Level ซึ่งผู้ที่สำเร็จการศึกษาหลักสูตรนี้สามารถสมัครเข้าศึกษาต่อใน ระดับอุดมศึกษาได้
4. GNVQ 4 การศึกษาระดับนี้เทียบเท่าหลักสูตรชั้นปีที่ 1 ของระดับปริญญาตรี จึงสามารถเข้าศึกษาต่อปริญญาตรีของมหาวิทยาลัยได้
นอกจากนี้คุณวุฒิวิชาชีพ GNVQ กำลังเข้ามาแทนคุณวุฒิ First Diploma, National Diploma และ Higher National Diploma (HND) ซึ่งเป็นหลักสูตรอาชีวศึกษาแบบเก่าของอังกฤษ
NVQs (National Vocational Qualifications) เป็นการศึกษาสายอาชีพและการฝึกปฏิบัติวิชาชีพเฉพาะ โดยผู้ว่าจ้างสหภาพแรงงานและผู้เชี่ยวชาญในสาขาอาชีพนั้นๆ เป็นผู้กำหนดมาตรฐานการศึกษา การศึกษาระดับนี้แบ่งเป็น 5 ระดับ คือ NVQ 1 , NVQ 2 , NVQ 3 , NVQ 4 และ NVQ 5 แต่ละระดับจะยึดตามความสามารถเป็นหลัก ไม่มีการกำหนดระยะเวลาหลักสูตรที่แน่นอนตายตัว
สำหรับหน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบด้านการออกคุณวุฒิ GNVQs และ NVQs มีดังนี้
1. BTEC (Business and Technology Education Council): เป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบครอบคลุมวิชาด้านเทคโนโลยี ธุรกิจ สุขภาพ สังคมสงเคราะห์ สันทนาการและการท่องเที่ยว
2. C & G (City and Guilds of London Institute): เป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบ ครอบคลุมด้านเทคโนโลยีอุตสาหกรรมทั่ว ๆ ไป เชน่ วิศวกรรม การกอ่ สร้าง การบริการจัดเลี้ยง
3. RSA (Royal Society of Arts): เป็นหน่วยงานที่เปิดสอนหลักสูตรคล้ายกับ BTEC และ C & G และยังเชี่ยวชาญด้านทักษะการทำงานในสำนักงานการสอนภาษาอังกฤษในฐานะภาษาต่างประเทศ
สำหรับหลักสูตรและวุฒิการศึกษาของสก๊อตแลนด์นั้น เมื่อนักเรียนจบมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 4 จะสอบ Standard Grades ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ระดับ คือ Foundation, General และ Credit และเมื่อจบมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 5 นักเรียนมักจะสอบ Highers นักเรียนบางคนเมื่อจบแล้วจะสอบผ่าน Highers 4 – 5 วิชา หรืออาจถึง 6 วิชา ในกรณีพิเศษและได้เกรดที่ต้องการสำหรับเข้าเรียนต่อในมหาวิทยาลัยหรือวิทยาลัยของสก๊อตแลนด์แต่อย่างไรก็ตามนักเรียนอาจเรียนต่ออีก 1 ปี เพื่อเรียน Advanced Highers และเมื่อจบมัธยมศึกษาปีที่ 6 นักเรียนจะสอบการศึกษาดังกล่าว โดยทั่วไป Advanced Highers เทียบได้กับ GCE A-Level เกรด A ถึง C
การศึกษาในระดับมหาวิทยาลัย และ College of Higher Education หลักสูตรการศึกษาในระดับอุดมศึกษา แบ่งเป็น
Undergraduate Course หลักสูตรปริญญาตรี
Business and Technician Education (BTEC), Higher National Certificate / Diploma (HNC/HND) หรือ Diploma of Higher Education (Dip.HE) หลักสูตร 2 ปี ส่วนใหญ่ เปิดสอนใน College of Higher Education และอาจมีในมหาวิทยาลัยบางแห่งรับจากผู้ที่สอบ “A” Level อย่างน้อย 1 วิชา หรือสำเร็จการศึกษาระดับ National Diploma สำหรับวิธีการสมัครต้องสมัครผ่าน Universities Central Admission System (UCAS) เช่นเดียวกับปริญญาตรี
First Degree (Bachelor’s degree) หลักสูตรส่วนใหญ่ 3 ปี ยกเว้นบางสาขา เช่น วิศวกรรมศาสตร์ (4 ปี) สถาปัตยกรรมศาสตร์ (5 ปี), ทันตแพทยศาสตร์ (5 ปี), สัตวแพทยศาสตร์ (5 ปี), แพทยศาสตร์ (6 ปี) ปริญญาที่ให้ ได้แก่ Bachelor of Arts (B.A.) Bachelor of Sciences (B.Sc.) Bachelor of Education (B.Ed.) Bachelor of Engineering (B.Eng.)
สำหรับในสก๊อตแลนด์มี 2 หลักสูตร คือ Ordinary degree หลักสูตร 3 ปี และ Honours degree หลักสูตร 4 ปี
นอกจากนี้มหาวิทยาลัยหลายแห่งยังเปิดหลักสูตรปริญญา ดังนี้
1. Joint Honours Degree เป็นการเรียนร่วมตั้งแต่ 2 สาขาวิชาขึ้นไป โดยแต่ละสาขาวิชาต้องเรียนหนักเท่ากัน ทั้งนี้อาจเป็นสาขาวิชาที่ใกล้เคียงกัน เช่น เศรษฐศาสตร์ และคณิตศาสตร์ หรือสาขาวิชาที่ไม่ใกล้เคียงกันแตมี่ความเกี่ยวข้องกัน เช่น คอมพิวเตอร์, และจิตวิทยา
2. Combined Degree เป็นการเรียนร่วมในสาขาวิชาที่แตกต่างกัน ซึ่งไม่จำเป็นต้องเรียนหนักเท่ากัน
3. Sandwich Courses เป็นการเรียนโดยรวมเวลาฝึกงานกับเวลาเรียนเข้าด้วย เช่น การฝึกงานด้านอุตสาหกรรม พาณิชยการ หรือการบริหารที่มีความเกี่ยวข้องกับวิชาที่ศึกษา ระยะเวลาการศึกษาจึงใช้เวลานานกว่าปกติคือ 4 ปี การฝึกงานอาจจัดเป็นช่วงเดียว คือ เป็นเวลา 1 ปี หรือ 2 ช่วง ๆ ละ 6 เดือน ซึ่งถูกเรียกว่าหลักสูตร thin – sandwich หลักสูตร ทั้ง 2 ประเภทนี้ นักศึกษาจะต้องกลับมาเรียนที่มหาวิทยาลัยในปีสุดท้ายก่อนสำเร็จการศึกษา
Postgraduate Course หลักสูตรที่สูงกว่าปริญญาตรีขึ้นไป
1. Postgraduate Certificate/Postgraduate Diploma หลักสูตร 6 เดือน ถึง 9 เดือน รับผู้สำเร็จปริญญาตรีในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง
2. Master Degree หลักสูตร 1 – 2 ปี รับผู้สำเร็จปริญญาตรีในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง การเรียนระดับนี้มีทั้งหลักสูตรปริญญาโทแบบเข้าชั้นเรียน (Taught Master) และปริญญาโทแบบทำวิจัย (Master by Research)
หลักสูตรปริญญาโทแบบเข้าชั้นเรียน (Taught Master) เป็นหลักสูตรที่นักศึกษาสามารถเลือกเรียนเฉพาะด้านได้ โดยอยู่ในความดูแลของอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญในสาขานั้น ๆ วิธีการเรียนการสอนมีทั้งการบรรยาย การสัมมนา การทำงานในห้องทดลอง และการทำวิทยานิพนธ์ ปริญญาที่ให้ได้แก่ Master of Arts (M.A.), Master of Science (M.Sc.), Master of Business Administration (M.B.A.)
หลักสูตรปริญญาโทแบบทำวิจัย (Master by Research or MRes) เป็นหลักสูตรที่นักเรียนจะต้องค้นคว้าด้วยตนเอง โดยอยู่ภายใต้อาจารย์ที่ปรึกษา ส่วนใหญ่ของหลักสูตรจะเป็นการศึกษาหัวข้อวิจัย และวางแผนการเรียนวิทยานิพนธ์ การประเมินผลจะประเมินจากการเขียนวิทยานิพนธ์ ปริญญาที่ให้ได้แก่ Master of Philosophy (M.Phil.), Master of Science by Research (M.Sc. by research)
หลักสูตรปริญญาเอก Doctoral degree or Doctor of Philosophy เป็นหลักสูตรที่นักศึกษาจะต้องศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองเป็นส่วนใหญ่ โดยการทำวิจัยและเขียนวิทยานิพนธ์ ภายใต้การดูแลของอาจารย์ที่ปรึกษา ส่วนใหญ่การศึกษาระดับนี้จะใช้เวลาอย่างน้อย 3 ปี ปริญญาที่ให้คือ Ph.D. หรือ D.phil. นอกจากนี้ยังมี New Route to PhD ซึ่งเป็นทางเลือกใหม่ของการศึกษาปริญญาเอก ใช้เวลาศึกษา 4 ปี โดย 30 – 40 % ของหลักสูตรจะเป็นการเรียนแบบ Taught course และ 60 – 70 % จะเป็นการทำวิจัย
การศึกษาภาคบังคับของประเทศอังกฤษนั้นเริ่มตั้งแต่อายุ 5 ถึง 16 ปี โดยแบ่งเป็น โรงเรียนรัฐบาล (State-funded) และ โรงเรียนเอกชน (Independent schools) จะเน้นการร่วมกิจกรรมการเรียนการสอนของนักศึกษา และการเรียนรู้ด้วยตนเอง ส่วนใหญ่เด็กนักเรียนที่อังกฤษส่วนใหญ่จะเรียนในโรงเรียน แต่ถ้าเป็นนักเรียนต่างชาติที่มาศึกษาต่อที่อังกฤษ ในระดับมัธยมศึกษานักเรียนจะต้องลงเรียนในโรงเรียนเอกชนเท่านั้น
ตอบลบการศึกษาที่เปิดเรียนจะแบ่งออกเป็นทั้งหมด 3 ช่วง
ภาคต้น (Autumn Term) จะเริ่มเรียนในช่วงปลายเดือนกันยายนถึงกลางเดือนธันวาคม
ภาคกลาง (Spring Term)จะเริ่มเรียนในช่วง เริ่มกลางเดือนมกราคมถึงปลายเดือนมีนาคม
ภาคปลาย (Summer Term) จะเริ่มเรียนในช่วงเริ่มปลายเดือนเมษายนถึงต้นเดือนกรกฎาคม
การศึกษาในประเทศอังกฤษ มีด้วยกันทั้งหมด 4 ระดับ
ระดับประถมศึกษา ( Preparatory School ) สำหรับนักเรียนที่มีอายุตั้งแต่ 5-13 ปี เน้นทักษะการเขียนและด้านของตัวเลข
มัธยมศึกษา (Public School) สำหรับนักเรียนที่มีอายุตั้งแต่ 13 ปีขึ้นไป ได้จนถึงอายุ 18 – 19 ปี รวมระยะเวลาศึกษาทั้งหมด 5 ปี ซึ่งเราจะเรียกว่า year 9 – year 13 สำหรับนักเรียนชาวต่างชาติจะมีสิทธิ์เรียนต่อที่ (Independent School) โรงเรียนมัธยมของเอกชนเท่านั้น ซึ่งนักเรียนทุกคนจะต้องทำการสอบวัดผลความรู้ และความสามารถเพื่อนำไปใช้ในการยื่นสมัครเข้าเรียนในระดับอุดมศึกษาต่อไป โดยจะสอบประมาณเดือนมิถุนายน ถึงเดือนกรกฎาคมของทุกปี การสอบจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ
GCSE (General Certificate of Secondary Education) การสอบระดับนี้ จะสอบเมื่อเด็กมีอายุประมาณ 16 ปีขึ้นไป นักเรียนเลือกสอบประมาณ 6-10 วิชา เช่น วิทยาศาสตร์ ภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ สังคมศึกษา ภาษาต่างประเทศ ศิลป ฯลฯ และผลการสอบจะแบ่งเป็น 7 ระดับ คือ Grade A, B, C, D, E, F, G ผู้ที่สอบได้ Grade C ขึ้นไปจึงจะถือว่าสอบผ่าน
GCE A Level (GCE Advanced) หรือที่รู้จักกันในนาม Sixth Form Colleges โดยใช้ระยะเวลา 2ปีและมีการสอบปลายปีในแต่ละปีการศึกษา A Level เป็นการสอบเพื่อวัดความสามารถทางวิชาการของเด็ก ที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป มีวิชาให้เลือก 50 กว่าวิชา ส่วนใหญ่นักศึกษาในระดับ A Level จะลงเรียนเพียง 2-4 วิชา เพื่อที่จะได้ศึกษาแต่ละวิชาอย่างลึกซึ้ง วิชาที่นักศึกษาเลือกเรียนมักจะเกี่ยวข้องกับหลักสูตรหรือสาขาที่ต้องการ ศึกษาต่อ ในระดับปริญญาตรี การสอบ A Level มี 5 ระดับ คือ A, B, C, D, E แต่ Grade ที่ได้ทั้ง 5 ถือว่าสอบผ่านทั้งหมด มหาวิทยาลัยส่วนใหญ่พิจารณารับผู้มีผลการสอบในระดับ C ขึ้นไป
IB The International Baccalaureate (IB) Diploma เป็นประกาศนียบัติทางด้านวิชาการระดับมัธยมศึกษาตอน ปลายอายุระหว่าง 16 ถึง19 ปี ให้มีความพร้อมในการเข้าเรียนต่อมหาวิทยาลัย ในทุกประเทศ หลักสูตรดังกล่าวเป็นหลักสูตรเข้มข้นโดยใช้เวลาเรียน 2 ปี ประกอบไปด้วยหกวิชาหลักๆ ได้แก่ ภาษาอังกฤษ ภาษาที่สอง(อาจจะเลือกเป็นภาษาของตนเองก็ได้) วิทยาศาสตร์เชิงการทดลอง ศิลปะ เลข และวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ นอกจากนี้นักเรียนจะต้องมีส่วนร่วมในกิจกรรมอาสาพัฒนาชุมชน กิจกรรมกีฬา และงานสร้างสรรค์ทางศิลปะอีกด้วย
อาชีวศึกษา (Further Education) เป็นการศึกษาที่จัดขึ้นเพื่อให้นักเรียนที่มีอายุ 16 ปีขึ้นไป ซึ่งเหมาะกับนักเรียนที่ไม่ต้องการจะศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา แต่ต้องการที่จะมีคุณวุฒิทางวิชาชีพต่างๆ เพื่อนำไปใช้ในการประกอบอาชีพ คุณวุฒิวิชาชีพ สถาบันการศึกษาด้านอาชีวศึกษานี้ มีทั้งของรัฐบาลและของเอกชน
ระดับปริญญา Undergraduate หรือ Diploma of Higher Education เป็นหลักสูตร 2 ปี ส่วนใหญ่จะเปิดสอนอยู่ใน College of Higher Education โดยมหาวิทยาลัยบางแห่ง รับเปิดรับผู้สอบ “A” Level อย่างน้อย 1 วิชา หรือสำเร็จการศึกษาระดับ National Diploma การสมัครเข้าศึกษาต่อนั้นต้องสมัครผ่าน UCAS เช่นเดียวกับในระดับปริญญาตรี
First Degree (Bachelor Degree) เป็นหลักสูตรการศึกษา 3 ปี ยกเว้นบางสาขาวิชา เช่น วิศวกรรมศาสตร์ (4 ปี) สถาปัตยกรรมศาสตร์ (5 ปี) ทันตแพทย์ (5 ปี) สัตวแพทย์ (5 ปี) แพทย์ (6 ปี)
Post – Graduate
Post – Graduate Certificate Diploma หลักสูตรการศึกษา 9 เดือนถึง 1 ปี รับสมัครผู้สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีเข้าศึกษาต่อ
Master Degree หลักสูตรการศึกษา 1-2 ปี รับสมัครผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีที่มีผลการเรียนดี
Doctoral Degree หลักสูตรการทำวิจัย ใช้เวลาในการศึกษา 3 ปี มหาวิทยาลัยส่วนใหญ่รับสมัครผู้สำเร็จการศึกษาหลักสูตร M. Phil
ระบบการศึกษาในประเทศอังกฤษ
ตอบลบส่วนใหญ่นักเรียนที่ประเทศอังกฤษ จะเริ่มเรียนกันตั้งแต่อายุ 5 ปีถึง 16 ปีโดยเป็นการศึกษาภาคบังคับ เด็กนักเรียนที่อังกฤษส่วนใหญ่จะเรียนในโรงเรียน แต่ถ้าเป็นนักเรียนต่างชาติที่มาศึกษาต่อที่อังกฤษ ในระดับมัธยมศึกษานักเรียนจะต้องลงเรียนในโรงเรียนเอกชนเท่านั้น
ช่วงของปีการศึกษาที่เปิดเรียนจะแบ่งออกเป็นทั้งหมด 3 ช่วง
☞ ภาคต้น (Autumn Term) จะเริ่มเรียนในช่วงปลายเดือนกันยายนถึงกลางเดือนธันวาคม
☞ ภาคกลาง (Spring Term)จะเริ่มเรียนในช่วง เริ่มกลางเดือนมกราคมถึงปลายเดือนมีนาคม
☞ ภาคปลาย (Summer Term) จะเริ่มเรียนในช่วงเริ่มปลายเดือนเมษายนถึงต้นเดือนกรกฎาคม
ระดับการศึกษา ของ ระบบการศึกษา ในประเทศอังกฤษ นั้น มีด้วยกันทั้งหมด 4 ระดับ คือ ระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษา อาชีวศึกษา และอุดมศึกษา และระดับปริญญา
ระดับประถมศึกษา ( Preparatory School )
☞ สำหรับนักเรียนที่มีอายุตั้งแต่ 5-13 ปี โดยหลักสูตรการเรียนการสอนในระดับนี้จะเน้นให้เด็กมีทักษะในการเขียน และทักษะด้านตัวเลข เพื่อพัฒนาเด็กให้มีความรู้ ความสามารถตามวัย
☞ ระดับเตรียมประถมศึกษา (Pre – Preparatory School) รับนักเรียนอายุตั้งแต่ 5 -7 ปี
☞ ระดับประถมศึกษา (Preparatory School) รับนักเรียนอายุตั้งแต่ 8 -13 ปี
ระดับมัธยมศึกษา (Public School)
สำหรับนักเรียนที่มีอายุตั้งแต่ 13 ปีขึ้นไป ได้จนถึงอายุ 18 – 19 ปี รวมระยะเวลาศึกษาทั้งหมด 5 ปี ซึ่งเราจะเรียกว่า “year 9 – year 13” หรือ “Form 3 – Form 6” (สำหรับโรงเรียนที่เรียกระดับชั้นเป็น Form) แต่สำหรับนักเรียนชาวต่างชาติจะมีสิทธิ์เรียนต่อที่ (Independent School) โรงเรียนมัธยมของเอกชนเท่านั้น ซึ่งนักเรียนทุกคนจะต้องทำการสอบวัดผลความรู้ และความสามารถเพื่อนำไปใช้ในการยื่นสมัครเข้าเรียนในระดับอุดมศึกษาต่อไป โดยจะสอบประมาณเดือนมิถุนายน ถึงเดือนกรกฎาคมของทุกปี การสอบจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ
1. GCSE (General Certificate of Secondary Education)
การสอบระดับนี้ จะสอบเมื่อเด็กมีอายุประมาณ 16 ปีขึ้นไป นักเรียนเลือกสอบประมาณ 6-10 วิชา เช่น วิทยาศาสตร์ ภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ สังคมศึกษา ภาษาต่างประเทศ ศิลป ฯลฯ และผลการสอบจะแบ่งเป็น 7 ระดับ คือ Grade A, B, C, D, E, F, G ผู้ที่สอบได้ Grade C ขึ้นไปจึงจะถือว่าสอบผ่าน นักเรียนที่สอบ GCSE ได้แล้ว (อย่างน้อย 5 วิชา) หากจะศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา จะต้องศึกษาต่ออีกประมาณ 2 ปี ในระดับ A Level (Advanced Level) หรือ ระดับ The International Baccalaureate (IB) Diploma
2.1 GCE A Level (GCE Advanced)
หรือที่รู้จักกันในนาม Sixth Form Colleges โดยใช้ระยะเวลา 2ปีและมีการสอบปลายปีในแต่ละปีการศึกษา A Level เป็นการสอบเพื่อวัดความสามารถทางวิชาการของเด็ก ที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป มีวิชาให้เลือก 50 กว่าวิชา ส่วนใหญ่นักศึกษาในระดับ A Level จะลงเรียนเพียง 2-4 วิชา เพื่อที่จะได้ศึกษาแต่ละวิชาอย่างลึกซึ้ง วิชาที่นักศึกษาเลือกเรียนมักจะเกี่ยวข้องกับหลักสูตรหรือสาขาที่ต้องการ ศึกษาต่อ ในระดับปริญญาตรี
ผลการสอบ A Level มี 5 ระดับ คือ A, B, C, D, E แต่ Grade ที่ได้ทั้ง 5 ถือว่าสอบผ่านทั้งหมด มหาวิทยาลัยส่วนใหญ่พิจารณารับผู้มีผลการสอบในระดับ C ขึ้นไป บางแห่งอาจรับเฉพาะผู้ที่ได้คะแนนระดับ A และ B
2.2 IB The International Baccalaureate (IB) Diploma
ตอบลบเป็นประกาศนียบัติทางด้านวิชาการระดับมัธยมศึกษาตอนปลายอายุระหว่าง 16 ถึง19 ปี ให้มีความพร้อมในการเข้าเรียนต่อมหาวิทยาลัย ในทุกประเทศ หลักสูตรดังกล่าวเป็นหลักสูตรเข้มข้นโดยใช้เวลาเรียน 2 ปี หลักสูตรของ International Baccalaureate จะประกอบไปด้วยหกวิชาหลักๆ ได้แก่ ภาษาอังกฤษ ภาษาที่สอง(อาจจะเลือกเป็นภาษาของตนเองก็ได้) วิทยาศาสตร์เชิงการทดลอง ศิลปะ เลข และวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ นอกจากนี้นักเรียนจะต้องมีส่วนร่วมในกิจกรรมอาสาพัฒนาชุมชน กิจกรรมกีฬา และงานสร้างสรรค์ทางศิลปะอีกด้วย แก่นของหลักสูตรนั้น
สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 องค์ประกอบใหญ่ๆ ได้แก่
✓ การเขียนเรียงความอย่างมีประสิทธิภาพ
จะมีการสอนเขียนเรียงความมากถึง 4,000คำต่อหนึ่งเรื่อง ในหัวข้อที่นักเรียนสนใจ
✓ ทฤษฎีการเรียนรู้
อีเอฟได้บรรจุและประยุกต์ใช้ปรัชญาความเข้าใจ และธรรมชาติการเรียนรู้ของนักเรียน เข้าไปในหลักสูตรและบทเรียนด้วย
✓ ความคิดสร้างสรรค์ การลงมือทำ และการให้บริการ
ได้ถูกบรรจุอยู่ในชั้นเรียนต่างๆในหลักสูตร อาทิเช่น ศิลปะ กีฬา และอาสาพัฒนาชุมชน
ระดับอาชีวศึกษา (Further Education)
เป็นการศึกษาที่จัดขึ้นเพื่อให้นักเรียนที่มีอายุ 16 ปีขึ้นไป ซึ่งเหมาะกับนักเรียนที่ไม่ต้องการจะศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา แต่ต้องการที่จะมีคุณวุฒิทางวิชาชีพต่างๆ เพื่อนำไปใช้ในการประกอบอาชีพ คุณวุฒิวิชาชีพ สถาบันการศึกษาด้านอาชีวศึกษานี้ มีทั้งของรัฐบาลและของเอกชน
สถาบันการศึกษาของรัฐบาล
มีประมาณ 500 แห่ง เปิดสอนหลักสูตรต่างๆ ได้แก่ บริหารธุรกิจ การโรงแรม การเกษตร วิศวกรรม ช่างเทคนิค ฯลฯ
การศึกษาระดับอาชีวะจะได้วุฒิบัตรจาก Business and Technician Education Council (BTEC) ส่วนในสกอตแลนด์ จะได้รับวุฒิบัตรจาก Scottish Vocational Education Council (SCOTVEC) แบ่งออกเป็น 3 ระดับ ดังนี้ คือ
Higher National Certificate/Diploma (HNC/HND)
เป็นการศึกษาในระดับสูงสุดของระดับอาชีวศึกษา หลักสูตร 2 ปี ซึ่งถือว่าระดับนี้เป็นการศึกษาในระดับอุดมศึกษา (Higher Education) ด้วยเช่นกัน ผู้ที่จบหลักสูตรนี้ถือว่า ได้มีคุณวุฒิสูงกว่าอนุปริญญาของไทย แต่ต่ำกว่าปริญญาตรี 1 ชั้น นอกจากนี้หากประสงค์จะศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีก็สามารถทำได้โดยใช้เวลา ศึกษาอีก 2 ปี แต่ทั้งนี้ผลการเรียนต้องอยู่ในระดับดี
National Vocational Qualification (NVQ)
หลักสูตรนี้เป็นหลักสูตรสายอาชีพ เป็นการเรียนทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติร่วมกัน แต่จะเน้นภาคปฏิบัติเพื่อให้นักเรียนได้รับการฝึกฝนและมีความพร้อมก่อนที่จะ ออกไปประกอบอาชีพจริง
สถาบันอาชีวศึกษาของเอกชน
นักรียนควรเลือกสถานศึกษาเอกชนที่ได้รับการรับรองวิทยฐานะจาก The British Accredition council for Further and Higher Education (BAC) ซึ่งเป็นหลักประกันว่าเป็นสถาบันที่มีการเรียนการสอนที่เชื่อถือได้ สำหรับวุฒิการศึกษาที่ได้รับ จะได้เพียงประกาศนียบัตรเท่านั้น อีกทั้งยังมีหลักสูตร Foundation degrees เป็นหลักสูตรการศึกษาที่จัดขึ้นเพื่อเตรียมความรู้ในการเรียนต่อระดับปริญญา ตรี หลักสูตรนี้จะใช้เวลาเรียน 1 ปี
ระดับอุดมศึกษา (Higher Education)
การศึกษาของ ระบบการศึกษา ใน ระดับมหาวิทยาลัย ปัจจุบันมหาวิทยาลัยของสหราชอาณาจักรมีประมาณ 96 แห่ง เป็นของรัฐบาลเกือบทั้งหมด ยกเว้น University of Buckingham ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยเอกชนเพียงแห่งเดียวการศึกษาระดับอุดมศึกษา แบ่งเป็น 2 ระดับ คือ
Undergraduate
BTEC HNC/HND หรือ Diploma of Higher Education (Dip. HE)
เป็นหลักสูตร 2 ปี ส่วนใหญ่จะเปิดสอนอยู่ใน College of Higher Education โดยมหาวิทยาลัยบางแห่ง รับเปิดรับผู้สอบ “A” Level อย่างน้อย 1 วิชา หรือสำเร็จการศึกษาระดับ National Diploma การสมัครเข้าศึกษาต่อนั้นต้องสมัครผ่าน UCAS เช่นเดียวกับในระดับปริญญาตรี
First Degree (Bachelor Degree)
เป็นหลักสูตรการศึกษา 3 ปี ยกเว้นบางสาขาวิชา เช่น วิศวกรรมศาสตร์ (4 ปี) สถาปัตยกรรมศาสตร์ (5 ปี) ทันตแพทย์ (5 ปี) สัตวแพทย์ (5 ปี) แพทย์ (6 ปี)
Post – Graduate
Post – Graduate Certificate Diploma
หลักสูตรการศึกษา 9 เดือนถึง 1 ปี รับสมัครผู้สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีเข้าศึกษาต่อ
Master Degree
หลักสูตรการศึกษา 1-2 ปี รับสมัครผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีที่มีผลการเรียนดี
Doctoral Degree
หลักสูตรการทำวิจัย ใช้เวลาในการศึกษา 3 ปี มหาวิทยาลัยส่วนใหญ่รับสมัครผู้สำเร็จการศึกษาหลักสูตร M. Phi